วันที่ ที่ 5 ก.พ. 2568 ที่ศาลปกครอง ถนนเเจ้งวัฒนะ ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลปกครองกลาง ในคดีที่นางสุภา โชติงาม ยื่นฟ้องสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) กับผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร) ว่า ร่วมกันออกประกาศประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง กำหนดแบบใบสั่งเจ้าพนักงานจราจร พ.ศ.2563 ลงวันที่ 20 ก.ค.2563 และประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดจำนวนค่าปรับตามที่เปรียบสำหรับความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ดังกล่าวโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จากเดิมที่ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาให้เพิกถอนประกาศ ทั้ง 2ฉบับดังกล่าวโดยให้มีผลย้อนหลังถึงวันที่ออกประกาศ เป็นการพิพากษาเพิกถอนประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง กำหนดแบบใบสั่งเจ้าพนักงานจราจร พ.ศ.2563 ลงวันที่ 20 ก.ค.2563 และประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดจำนวนค่าปรับตามที่เปรียบสำหรับความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 .และความผิดตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับรถหรือการใช้ทางที่มีโทษปรับสถานเดียว พ.ศ. 2566 ลงวันที่ 23 มี.ค. 2566 “โดยให้มีผลนับแต่วันที่พ้นกำหนด 180 วัน นับแต่วันที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษา แทน” ศาลให้เหตุผลว่า แม้ว่า การออกประกาศทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว เป็นการออกประกาศขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่เปิดโอกาสให้โต้แย้งคัดค้าน อีกทั้งทำให้ผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้รับการพิจารณาโทษตามข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์แห่งการกระทำ ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ และกฎหมายจราจรทางบก พ.ศ.2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม นั้น
ซึ่งมุ่งควบคุมกำกับการใช้รถให้เกิดความปลอดภัย ส่งเสริมวินัยจราจร และให้มีการลงโทษผู้กระทำผิดตามพฤติการณ์แห่งการกระทำผิดด้วยความเสมอภาค เนื่องจากรูปแบบใบสั่งที่กำหนดขึ้นใหม่ตาม ประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง กำหนดแบบใบสั่งเจ้าพนักงานจราจร พ.ศ.2563 “ได้ตัดสาระสำคัญในส่วนของการปฏิเสธการกระทำความผิดตามใบสั่ง บันทึกของผู้ต้องหา และบันทึกของพนักงานสอบสวน กำหนดไว้เพียงวิธีการชำระค่าปรับด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมทำให้ผู้รับใบสั่งเข้าใจว่า ตนมีหน้าที่ต้องชำระค่าปรับเท่านั้น”
นอกจากนี้ การที่ ผบ.ตร. ออกประกำหนดจำนวนค่าปรับเกี่ยวกับความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ลงวันที่ 20 ก.ค.2563 เป็นการล่วงหน้าในอัตราคงที่แน่นอนตายตัว นั้น ไม่ได้มีลักษณะเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้เจ้าพนักงานจราจรใช้ดุลพินิจว่า กรณีที่ผู้ขับขี่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก หรือกฎหมายอื่น เกี่ยวกับรถหรือการใช้ทาง การกระทำของผู้ขับขี่ดังกล่าวสมควรที่เจ้าพนักงานจราจรจะว่ากล่าวตักเตือน เช่น กรณีมีเหตุจำเป็น หรือเป็นการกระทำความผิดครั้งแรก หรือการกระทำของผู้ขับขี่สมควรที่เจ้าพนักงานจราจรจะออกใบสั่งให้ผู้นั้นชำระค่าปรับหรือไม่และเป็นจำนวนค่าปรับตามที่เปรียบเทียบได้เป็นจำนวนเท่าใด หรือแม้แต่กรณีที่ไม่พบด้วยตนเอง หรือเป็นการใช้เครื่องอุปกรณ์ต่างๆ ”เจ้าพนักงานจราจรย่อมมีดุลพินิจดังกล่าวได้เช่นเดียวกันจึงเป็นกรณีที่ ผบ.ตร. ใช้ดุลพินิจในการกำหนดค่าปรับกับผู้กระทำความผิดแทนเจ้าพนักงานจราจรหรือเจ้าพนักงานในตำแหน่งอื่น ขัด พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 เป็นกฎที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย” อย่างไรก็ตาม แม้ว่าคดีนี้ ศาลจะวินิจฉัยว่าประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติพิพาทดังกล่าวจะไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ตาม แต่โดยที่เจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้ให้เหตุผลว่า
“ปัจจุบันการเกิดอุบัติเหตุทางถนนของประเทศมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการที่ผู้ขับขี่ขาดวินัยในการใช้รถใช้ถนน และไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก กรณีจึงมีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อสร้างความปลอดภัยแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชนในการจราจรและประโยชน์สาธารณะ ประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติพิพาทในคดีนี้จึงถือเป็นเครื่องมือหรือมาตรการสำคัญอย่างหนึ่งในการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าพนักงานจราจร ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ประกอบกับปัญหาความไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าว ผบ.ตร. สามารถปรับปรุงแก้ไขได้โดยการกำหนดรูปแบบใบสั่งให้มีข้อความคำเตือนดังเช่นที่เคยปฏิบัติมาก่อนและกำหนดจำนวนค่าปรับตามที่เปรียบเทียบได้ได้ให้มีลักษณะที่เจ้าพนักงานจราจรสามารถใช้ดุลพินิจให้เป็นไปตามกฎหมายจราจรทางบก ว่ากล่าวตักเตือน หรือใช้ดุลพินิจในการกำหนดจำนวนค่าปรับไม่เกินจำนวนที่ ผบ.ตร. กำหนดตามที่ พ.ร.บ.จราจรทางบก บัญญัติไว้ได้“ เช่น
กรณีฐานความผิด ไม่ขับรถด้วยอัตราความเร็วตามที่กำหนดในกฎกระทรวงหรือตามเครื่องหมายจราจรที่ติดตั้ง จำนวนค่าปรับ ควรกำหนดเป็นครั้งที่ 1 ว่ากล่าวตักเตือน หรือใช้ดุลพินิจที่จะไม่ว่ากล่าวตักเตือน แต่สมควรใช้ดุลพินิจปรับครั้งนี้ไม่เกินจำนวนเท่าใด และหากกระทำความผิดครั้งต่อไปจะปรับเป็นจำนวนเท่าใด รวมถึงการกระทำความผิดหลายครั้งในฐานความผิดเดียวกันภายในวันเดียวกัน ควรมีการกำหนด เป็นประการใด เพื่อให้เจ้าพนักงานจราจรสามารถใช้ดุลพินิจในการว่ากล่าวตักเตือนหรือเปรียบเทียบปรับตามสมควรแต่ละกรณีได้ อีกทั้ง ผบ.ตร.ยังสามารถดำเนินการปรับปรุงแก้ไขเปลี่ยนแปลงประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติดังกล่าวได้อยู่แล้ว
ดังนั้น จึงยังไม่สมควรพิพากษาให้เพิกถอนประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง กำหนดแบบใบสังเจ้าพนักงานจราจร พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 20 ก.ค.2563 และประกาศสำนักงานตำรวจแห่งแห่งชาติเรื่อง การกำหนดจำนวนค่าปรับตามที่เปรียบเทียบสำหรับความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และความผิดตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับรถหรือการใช้ทางที่มีโทษปรับสถานเดียว พ.ศ. 2566 ลงวันที่ 23 มี.ค. 2566 โดยให้มีผลทันที หรือให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ออกประกาศดังกล่าว เพราะจะก่อให้เกิดผลเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะและการบังคับใช้กฎหมาย การที่ศาลปกครองกลางพิพากษาเพิกถอนประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง กำหนดแบบใบสั่งเจ้าพนักงานจราจร พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 20 ก.ค.2563 และประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง
การกำหนดจำนวนค่าปรับตามที่เปรียบเทียบสำหรับความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 โดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ออกประกาศดังกล่าว นั้น ศาลปกครองสูงสุด เห็นพ้องด้วยบางส่วนพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลปกครองกลาง เป็นให้เพิกถอนประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง กำหนดแบบใบสั่งเจ้าพนักงานจราจร พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 20 ก.ค.2563 และประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดจ้านวนค่าปรับตามที่เปรียบเทียบสำหรับความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 และความผิดตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับรถหรือการใช้ทางที่มีโทษปรับสถานเดียว พ.ศ.2566 ลงวันที่ 23 มี.ค.2566 โดยให้มีผลนับแต่วันที่พ้นกำหนด 180 วัน นับแต่วันที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษา และคำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
อ่านฉบับเต็ม คลิก
ข้อมูล thansettakij